วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559

HW10:สร้างบทความใน Blog เรื่อง การติดตั้ง Ubuntu Server ใน Virtual Box

      สวัสดีครับผม  วันนี้เราจะมาบอกวิธีการติดตั้ง  Ubuntu Server ใน Virtual Box มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 


    Ubuntu   เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด ซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน  การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซาว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 13.4 ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์) โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้ 


      ก่อนอื่นไปดาวน์โหลด Ubuntu ก่อนตามระเบียบครับ Download Ubuntu เลือกเวอร์ชั่นใหนก็ได้ครับ ถ้าต้องการดาวน์โหลดฟรีให้เลือก Not now, take me to the download


1. เปิดโปรแกรม Oracle VM VirtualBox ขึ้นมาก็คลิกไปตามลำดับภาพเลยครับ

2. ตั้งชื่อ และเลือกระบบปฏิบัติการ

3. ตั้งค่าแรม ถ้ามีแรมเยอะก็ตั้งเป็น 1024 MB. ไปเลยครับจะได้ทำงานเร็วๆ






4. เลือกจำลองฮาร์ดดิส








5. ถ้าต้องการกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสเองก็ให้เลือก Fixed size






6. กำหนดขนาดเนื้อที่ฮาร์ดดิสที่ต้องการ






7. เลือก Settings 






8. กดเลือกไปตามหมายเลขเพื่อที่จะ mount iso ระบบปฎิบัติการที่เราดาวน์โหลดมา






9. เลือกระบบปฎิบัติการ






10. กด Start เพื่อติดตั้ง






11. กด Install






12. เลือกตามรูป แล้วกด Continue






13. ส่วนนี้ไม่ต้องตกใจครับ ไม่ได้ล้างฮาร์ดดิสทั้งหมดของเรา แต่ล้างเฉพาะพื้นที่ส่วนที่ VirtualBox สร้างไว้เท่านั้นครับ กด Continue






14. เลือกทำเลและภาษา



 





15. ตั้งชื่อ และ พาสเวิร์ด






16. ถึงตรงนี้ก็รอครับ อาจจะนานหน่อยแล้วแต่ความเร็วของเครื่อง ถ้าต่อเน็ตก็รวมทั้งความเร็วเน็ตด้วยครับ






    พอติดตั้งเสร็จแล้วก็ปิดโปรแกรมไปก่อน แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ก็กด Start เลยครับโปรแกรมก็จะรันระบบปฎิบัติการแล้วก็จะได้ตามภาพนี้ครับ แต่น..แต๊น....





เหมือนเดิมครับผม บทความนี้ก็จบเพียงเท่านี้ มีอะไรผิดพลาดก็ต้องขอ อภัยด้วยครับ ^^

"สวัสดีครับ by ดำ ดอทคอม"


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

จัดสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ ><"

     สวัสดีครับวันนี้  เราจะมาจัดสเปคคอมพิวเตอร์ ในราคา 17,500 และ 21,000 บาท 
ที่ใช้งานทั่วไป   เรามาดูกันเลยครับผม


แบบที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ใช้งานทั่วไปในราคา 17500 บาท



1. ซีพียู


2. เมนบอร์ด

3. แรม

4. VGA



5. ฮาร์ดดิส


6. เคส


7.  power supply


8. จอภาพ


     สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาประมาณ 17,500 บาท  ที่มีไว้ใช้งานทั่วไป  ก็มีแค่นี้ครับ

แบบที่ 2 เครื่องอมพิวเตอร์ที่มีไว้เล่นเกมส์ในราคา  21,000 บาท 


1. ซีพียู
 

2. เมนบอร์ด


3. แรม


4. VGA

5. ฮาร์ดดิส


6. power supply


7. จอภาพ


8. เคส


   ครับผม เราก็ได้ทำการจัดสเปคคอมพิวเตอร์  2 แบบ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
และสำหรับสัปดาห์นี้ก็มีแค่นี้ครับ  รอติดตามในสัปดาห์ต่อไปเลยนะครับ เดี๋ยวผมจะมีความรู้ดีๆมาฝาก
ถ้าหากมีอะไรตกหล่น  หรือผิดพลาดก็กราบขอประทานอภัยด้วยนะครับ!! ><"

สำหรับวันนี้ ขอกล่าวคำว่า  สวีดัส  (สวัสดีครับ)  by  ดำ ดอทคอม





วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนการทำงานของการเปิดคอมพิวเตอร์

     สวัสดีครับ วันนี้เราก็มาพบกันอีกครั้ง   สำหรับวันนี้เราจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานของการเปิดคอมพิวเตอร์

การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง(Power-On-Self-Test)

          เมื่อคุณเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณจะสังเกตุเห็นว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวินาที จริงๆ แล้วคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นไม่ได้อยู่เฉยๆ แต่กำลังทำงานอยู่ งานที่เป็นงานซับซ้อน ประกอบด้วยการจัดการสิ่งต่างๆ มากมาย เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นทำงานอย่างถูกต้อง และตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์อะไรต่ออยู่กับตัวมันเองบ้าง และถ้ามีบางอย่างผิดพลาดคอมพิวเตอร์ก็จะแสดงข้อความเตือนขึ้นมา ( เช่น เสียง beep ) การทำงานดังกล่าวนี้เป็นการเริ่มต้นของการทำงานที่ซับซ้อนต่างๆ มากมาย เราเรียกกระบวนการนี้ว่า การบูตอัพ (boot-up) หรือเรียกสั้นๆ ว่า การบูต (boot) ขั้นตอนการบูตเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งเป็นขั้นตอนการดึงระบบปฏิบัติที่เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่องมาทำงาน ระบบปฏิบัติการเป็นชุดของคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานระหว่างอุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ โปรแกรมประยุกต์ และมนุษย์

          แต่ก่อนที่คอมพิวเตอร์จะดึงระบบปฏิบัติการมาทำงานนั้น มันจะต้องแน่ในก่อนว่าอุปกรณ์ต่างๆ นั้นทำงานถูกต้อง และซีพียูและหน่วยความจำทำงานถูกต้อง การทำงานดังกล่าวเรียกว่า การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง (POST ย่อมาจาก Power-On-Self-Test)


          ถ้ามีบางอย่างผิดพลาด หน้าจอจะขึ้นข้อความเตือน หรือส่งสัญญาณเสียง “ปี้บ” ซึ่งมีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จริงๆ แล้ว ข้อความเตือนความผิดพลาดหรือสัญญาณเสียงปี้บ นั้นอาจไม่ได้เกิดจากข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยตรง แต่ก็พอจะบอกได้ว่าอุปกรณ์ใดมีปัญหา จุดประสงค์โดยทั่วไปก็คือตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์มีความผิดพลาดเกิดข้นหรือไม่

        แต่ถ้าไม่มีข้อความเตือนหรือเสียงปี้บ ก็ไม่ได้หมายความว่าอุปกรณ์ต่างๆ ทำงานถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด เนื่องจากการตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่องนั้นสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดทั่วๆไปได้เท่านั้น ซึ่งอาจบอกได้เพียงว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นพื้นฐานเช่น แป้นพิมพ์ การ์ดแสดงผล ได้ต่ออยู่กับเครื่องหรือไม่ เท่านั้น อาจจะดูเหมือนว่าการตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่องนั้นไม่มีประโยชน์อะไรมากนัก นั้นเพราะว่าคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ทำงานได้ปกติ แต่ถ้าไม่มีขั้นตอนนี้แล้วคุณจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีอุปกรณ์ใดยังไม่ได้ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์และทำงานปกติดีหรือไม่

      การทำงาน

          เมื่อคุณเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ กระแสไฟฟ้าจะวิ่งไปตามเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ไปยัง ซีพียู เพื่อลบข้อมูลเก่าที่ยังคงค้างอยู่ใน หน่วยความจำของซีพียู หรือเรียกว่า เรจิสเตอร์ (Register) สัญญาณทางไฟฟ้าจะไปตั้งค่าเรจิสเตอร์ของซีพียูตัวหนึ่ง มีชื่อว่า ตัวนับโปรแกรม หรือ Program counter ค่าที่ตั้งให้นั้น ค่าที่ตั้งนั้นเป็นค่าที่บอกให้ ซีพียู รู้ตำแหน่งของคำสั่งถัดไปที่จะต้องทำ ซึ่งตอนเปิดเครื่อง ตำแหน่งที่ต้องส่งไปก็คือตำแหน่งเริ่มต้นของคำสั่งบูตนั่นเอง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมบูตจะเก็บอยู่ในหน่วยความจำที่เรียกว่า ไบออส (BIOS ย่อมาจาก Basic Input/Output System) 
หรือ รอมไบออส (ROM BIOS ย่อมาจาก Read Only Memory Basic Input/Output System) 

          จากนั้น ซีพียูจะส่งสัญญาณไปตามบัส (Bus) ซึ่งเป็นวงจรทีเชื่อมอุปกรณ์ทุปอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกอย่างทำงาน

          ในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ จะมีโปรแกรมที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของซีพียูเพื่อให้แน่ใจว่า การทำงานนั้นเป็นไปตามจังหวะของสัญญาณนาฬิกาของระบบ
          ขั้นต่อไปคือการตรวจสอบหน่วยความจำที่อยู่ในการ์ดแสดงผลและสัญญาณวิดีโอที่ควบคุมการแสดงผลบนหน้าจอ ต่อจากนั้นจะสร้างรหัสไบออสให้การ์แสดงผลเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถึงขั้นตอนนี้คุณจะเห็นมีบางสิ่งบางอย่างปรากฏบนหน้าจอคุณ
          การตรวจสอบต่อไปคือการตรวจสอบ แรมชิบ (RAM Chip) โดยซีพียูจะเขียนข้อมูลลงในชิบ แล้วอ่านออกมาเทียบกับข้อมูลที่ส่งไปเขียนตอนแรก และเริ่มนับจำนวนความจุของหน่วยความจำที่ถูกตรวจสอบแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้ก็จะมีการแสดงผลขึ้นบนหน้าจอด้วย
          ต่อไปซีพียูจะตรวจสอบคีย์บอร์ดว่าได้ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์หรือไม่ และตรวจสอบว่ามีการกดแป้นคีย์บอร์ดหรือไม่
          ต่อมาก็จะส่งสัญญาณไปตามเส้นทางบัส เพื่อหาไดร์ฟต่างๆ และคอยจนกว่าจะได้สัญญาณตอบกลับเพื่อเป็นการตรวจสอบว่าไดร์ฟทำงานได้หรือไม่
          สำหรับคอมพิวเตอร์แบบ AT เป็นต้นไป ผลจากการตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่องนี้จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ซีมอสแรม (CMOS RAM) ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซีมอสแรม เป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลไว้แม้เครื่องจะปิดหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าก็ตาม เพราะว่ามันมีแบตเตอรี่ไว้สำหรับจ่ายไฟให้ตัวมันเองโดยเฉพาะ ถ้ามีการตั้งใหม่ในระบบก็ไปแก้ไขในซีมอสด้วย แต่ถ้าเป็นรุ่นเก่าแบบ XT จะไม่มีซีมอสแรม
          อุปกรณ์แต่ละตัวจะมีรหัสไบออสอยู่ ซึ่งเป็นตัวคอยประสานงานกับอุปกรณ์ตัวอื่น และเป็นตัวบอกการเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ถึงขั้นนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ก็พร้อมที่จะทำงานต่อไป คือ การบูต ดึงระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
          คอมพิวเตอร์ของคุณจะไม่สามารถทำงานใดๆ ได้เลยถ้าไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ หรือ ระบบปฏิบัติการ ที่เป็นโปรแกรมที่คอบประสานการทำงานของ โปรแกรมอื่น ให้สามารถทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้ แต่ก่อนที่ระบบปฏิบัติการจะทำงานได้นั้น จะต้องถูกดึงมาไว้ที่หน่วยความจำหลักเสียก่อน เราเรียกกระบวนการนี้ว่า บูตสแทรบ Bootstrab) หรือเรียกสั้นๆว่า บูต (Boot) ซึ่งเป็นคำสั่งสั้นๆ ที่จะต้องมีอยู่ในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

          การที่เราเรียกว่า “บูตสแทรบ” เพราะมันเป็นการทำให้คอพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ขั้นตอนการบูตไม่ได้ทำอะไรมากนัก จริงๆ แล้วมีการทำงานเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ การตรวจสอบตนเองก่อนเปิดเครื่อง และการค้นหาไดร์ฟ ที่เก็บระบบปฏิบัติการ เมื่อการทำงานเสร็จสมบูรณ์ เครื่องก็จะรู้ว่าระบบปฏิบัติการถูกเก็บไว้ที่ไหน ก็จะทำการดึงระบบปฏิบัติการโดยการอ่านไฟล์ระบบปฏิบัติการและคัดลอกไปไว้ในหน่วยความจำหลักของเครื่อง หรือ แรม (Random Access Memory : RAM) แต่อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำไมไม่ใส่ระบบปฏิบัติการลงใน รอมไบออสเลย เหตุผลก็คือ ถ้าเราใส่ไว้ในรอมเราจะไม่สามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการได้เลย และเวลาจะยกระดับของระบบปฏิบัติการก็จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเลย ซึ่งเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการติดตั้งระบบปฏิบัติการไว้ทีอื่น แล้วค่อยคัดลอกมาทำงาน การทำแบบนี้ทำให้เราสามารถเปลี่ยนระบบปฏิบัติการหรือยกระดับของระบบปฏิบัติการได้ง่ายและสะดวกสบายกว่ามาก ระบบปฏิบัติการในปัจจบันมีให้เลือกมากมาย ได้แก่ ไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Window) ลินุกซ์ (Linux) เป็นต้น

     รูปภาพแสดงกระบวนการทำงานของการเปิดคอมพิวเตอร์



ที่มา : http://www.suwanpaiboon.ac.th/wbi/page/na59.HTM


รูปภาพอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
   ที่มา : kgm554095.blogspot.com

       ครับผม สำหรับวันนี้ กระบวนการทำงานของการเปิดคอมพิวเตอร์ ก็รีวิวเพียงเท่านี้ครับ    ถ้าหากมีอะไรเพิ่มเติม หรือมีอะไรที่ผิดพลาด ก็คอมเมนต์ไว้ได้นะครับ  เพื่อจะนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีมากกว่าเดิม   สุดท้ายและท้ายสุด  ขอกล่าวคำว่า    สวัสดีครับผม!! 

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

สอบการรันเครื่อง!!

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมารีวีว

สอบ                    1. แกะคอมพิวเตอร์
                    2. รีวิวอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
                    3. เปิด/ปิด คอมพิวเตอร์นอกเคส (โดยใช้เมนบอร์ด)
                    4. ประกอบอุปกรณ์เข้าเคสคอมพิวเตอร์
               
          ซึ่งเรามีคลิปการรีวิวมาให้ดู  เราไปดูกันเลยครับ 



เป็นยังไงกันบ้างครับบบบบ  พอจะเข้าใจไหม  ถ้ามีอะไรแนะแนวหรือแนะนำ ก็ขอให้คอมเมนท์ด้านล่างเลยนะครับ 

   ** ต้องขอโทษด้วยนะครับ สำหรับเสียงรบกวนมากมายยยยย !! 




สำหรับวะนนี้ ขอกล่าวคำว่า  สวัสดีครับ By ดำ ดอทคอม

RewiewNoteBookAcerIntelCeleronCpuB815

รีวิวโน๊คบุ๊ค ACER


ก่อนแกะโน๊คบุ๊ค



ถอดแบตเตอรี่

แกะฝาหลังออก




ถอดแรมออก


ถอดฮาร์ดดิสออก








ประกอบเข้า



หลังจากนั้นทำการเปิดเครื่องเพื่อทดสอบการใช้งาน





สามารถเปิดเครื่องได้ และทำงานได้ตามปกติครับ

สำรวจขนาดความต่างศักย์ไฟฟ้าในแต่ละฟินของ power supply

   สวัสดีครับ  วันนี้เราก็ได้มาพบเจอกันอีกครั้ง  สำหรับวันนี้ จะมาสำรวจค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าของ

power supply มาดูกันเลยครับ!!

----------------------------------เครื่องมือของการสำรวจค่าต่างศกย์ไฟฟ้า --------------------------------------



   ก็ทำการเสียบไฟ จากนั้นก็นำลวดมาเสียบเข้าที่ พินที่ 14 และ 15 (สายสีเขียว กับ สายสีดำ)  ดังรูป


   จากนั้นเราก็สำรวจในทุกเส้น เพื่อวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า  และทำการบันทึกผล ดังรูปครับผม!!





  ผู้ช่วยผมเองครับ  เป็นไงล่ะ  ไฟช็อดแน่แม้เนาะ 555555














สำหรับการวัดค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้า  ได้ดังรูป





สำหรับการสำรวจวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าก็ได้ทำการเสร็จเรียบร้อย  และปลอดภัยดี  

ถ้ามีอะไรก็คอมเมนท์ไว้ด้านล่างเลยนะครับ  และมีอะไรเพิ่มเติมก็สามารถฝากไว้ได้นะครับ 

สำหรับวันนี้ก็ขอกล่าวคำว่า  

"สวัสดีครับผม by ดำ ดอทคอม"

เปลี่ยนพัดลม เปิด ปิด และรีสตาร์ท คอมพิวเตอร์ด้วยเนมบอร์ด

สวัสดีครับ  วันนี้เราจะมารีวิว การเปลี่ยนพัดลม power supply และทำการ เปิด ปิด และ รีสตาร์ท คอมพิวเตอร์จากเมนบอร์ด 

การจะทำอะไรสักอย่างเราควรดูจากคู่มือหรือดาต้าชีส เพื่อความถูกต้องแม่นยำ !!

อุปกรณ์ในการเปลี่ยนพัดลม power supply !!


ทำการเปลี่ยนพัดลมกันเลย หมุนๆ แกะๆ
  
ทำการเอาฝาออกแล้ว ได้ดังนี้


จากนั้นก็ทำการ ละลายตะกั่ว


ใช้ที่ดูด ดูดเอาตะกั่วที่ละลายออก


จากนั้นทำการเอาพัดลมอีกตัวมาใส่ และทำการเชื่อมตะกั่วใส่ ได้ดังนี้

  
จากนั้นก็ทำการเช็คดูว่าใช้งานได้ไหม??  โดยการใช้เหล็กเสียบใสช่องที่ 4 และ 5 ดังรูป





ทำการเสียบสายไฟ เพือเช็ค  ปรากฎว่า พัดลมหนุม แสดงว่าใช้งานได้!!  เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  




จากนั้นเรามาทำการ เปิด ปิด และ รีสตาร์ทคอมพิวเตอร์ ด้วย เมนบอร์ด 
ข้อมูลจากดาต้าชีส!!  คือ

ทำการกันเลยยยยยยย!!

การเปิด/ปิดคอมพิวเตอร์  พินที่ 4 และ 5 

พินที่ 1 และ 2 คือ รีสาร์ทคอมพิวเตอร์



ผลลัพธ์ที่ได้  ติดครับ 


สำหรับสัปดาห์นี้  ก็มีแค่นี้ครับ 

ถ้ามีไรเสนอ หรือมีข้อแนะนำ ก็ขอให้เสนอแนะนำด้วยนะครับ  เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงในสัปดาห์ต่อไป 

สำหรับสัปดาห์นี้  สวัสดีครับบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ!!